วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557


บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
ในการจัดทำโครงงานการเจริญเติบโตของมนุษย์ ผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์ ในการศึกษาครั้งนี้ทำให้ตระหนักได้ว่าในการเจริญเติบโตของมนุษย์ ต้องมีความพร้อมหลายด้านทั้งการศึกษาด้านวิชาการ การศึกษาด้านอาหารการรับประทานของบุคคลในแต่ล่ะช่วงวัย  ซึ่งผู้จัดทำได้มีความรู้เป็นอย่างมากจากการศึกษาเพิ่มเติมนี้ และคาดว่าจะต้องมีการศึกษาต่อเพื่อได้รับความรู้เพิ่มเติมและเป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้รับความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของมนุษย์
2. ได้รับความรู้ความเข้าใจในการเจริญเติบโตของมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ
4. ได้ตระหนักในการเจริญเติบโตของมนุษย์
ข้อเสนอแนะ
1. ควรจะมีสื่อวีดีทัศน์การเจริญเติบโตของมนุษย์
2. ควรมีการจัดนิทรรศการเรื่องการเจริญเติบโตของมนุษย์
บทที่ 4 ผลการศึกษา

ผลการศึกษา
จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ
การเจริญเติบโตของมนุษย์เพื่อทำโครงงาน และหลังจากการที่ได้ศึกษาข้อมูลแล้วผู้จัดทำได้รับความรู้ดังนี้
1. ได้รับความรู้ในเรื่อง
การเจริญเติบโตของมนุษย์และข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของมนุษย์
2. ได้รู้จักช่วงอายุในวัยต่างๆ
4. ได้ตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อการเจริญเติบโตของมนษย์ในอนาตคที่จะถึง
5. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเจริญเติบโตของมนุษย์

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ
วัสดุอุปกรณ์ 
1.
ปากกา
2.กระดาษ
3.หนังสือ
4.อินเทอร์เน็ต
5.คอมพิวเตอร์
งบประมาณ 
 500 บาท
วิธีดำเนินงาน  
1.วางแผนการทำงาน
2.สืบค้นหาข้อมูล
3.ดำเนินการทำโครงงาน
4.นำเสนอโครงงาน
ตารางปฏิบัติงาน 

วันที่ .. – 10 .. 2556
วางแผนการทำงาน
วันที่ 11 .. – 17 .. 2556
สืบค้นข้อมูล
วันที่ 18 .. – 30 .. 2556
ดำเนินการจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงาน
วันที่ .. 2556
นำเสนอโครงงาน

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของพัฒนาการ
พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านโครงร่าง (Structure) และแบบแผน (Pattern) ของร่างกายทุกส่วนอย่างมีขั้นตอนและเป็นระเบียบแบบแผน นับแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเสียชีวิต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิง คุณภาพ (Quality) เพื่อให้บุคคลนั้นพร้อมจะแสดงความสามารถในการกระทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับวัยในการที่พัฒนาการของคนจะสมบูรณ์ได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของบุคคล 3 ประการ ได้แก่
1.
 การเจริญเติบโต (Growth)
การเจริญเติบโต หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางร่างกายที่มีความเกี่ยวข้องกับ ขนาด น้ำหนัก ส่วนสูง กระดูก กล้ามเนื้อ รูปร่าง ซึ่ง
เป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงของปริมาณ เช่น ส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น การปรากฏสัดส่วนวัยสาวของเด็กหญิง เป็นต้น
2.
 วุฒิภาวะ (Maturation)
วุฒิภาวะ หมายถึง การเจริญเติบโตของโครงสร้างทางร่างกายอย่างเป็นลำดับขั้นตามธรรมชาติจนถึงจุดสูงสุด มีผลให้เกิดความพร้อมที่จะประกอบกิจกรรมได้เหมาะสมกับวัย เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ใช่การเรียนรู้หรือประสบการณ์
3.
 การเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร อันเนื่องมาจากการฝึกฝน ฝึกหัด หรือประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ พฤติกรรมนั้น ๆ จะมีความเชี่ยวชาญชำนาญมากขึ้นเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนหรือประสบการณ์ที่ผ่านมา นั่นคือ การเรียนรู้มีความสัมพันธ์ไปพร้อมกับการเจริญเติบโตและวุฒิภาวะของบุคคล
หลักของพัฒนาการ Principle of Development
อาร์โนลด์ จีเซลล์ ได้สรุปหลักของพัฒนาการของมนุษย์ ได้ดังนี้
1.
 พัฒนาการของมนุษย์มีทิศทาง (Principle of Directions)
ธรรมชาติได้กำหนดทิศทางของพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ทิศทาง ได้แก่
1)
 ทิศทางจากส่วนบนลงสู่ส่วนกลาง (Cephalocaudal Law) เป็นการพัฒนาในแนวดิ่ง โดยยึดศีรษะเป็นอวัยวะหลัก คือ อวัยวะใดที่อยู่ใกล้ศีรษะมากที่สุด บุคคลก็จะสามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนนั้นได้ก่อนอวัยวะอื่น ๆ ดังนั้นเด็กจึงขยับศีรษะได้ก่อนส่วนอื่นๆ
2)
 ทิศทางจากส่วนใกล้ไปสู่ส่วนไกล (Proximodistal Law) เป็นการพัฒนาในแนวขวาง โดยยึดลำตัวเป็นอวัยวะหลัก คืออวัยวะใดก็ตามที่อยู่ใกล้ร่างกายมากที่สุดจะสามารถควบคุมได้ก่อนส่วนอื่น ๆ ดังนั้นเด็กจึงขยับร่างกายได้ก่อนส่วนอื่น ๆ
2.
 พัฒนาการของมนุษย์มีลักษณะต่อเนื่อง (Principle of Continuity)
พัฒนาการใดด้านใดก็ตามต้องอาศัยระยะเวลาและความต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่เกิดได้โดยฉับพลันทันทีทันใด โดยเริ่มพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็ก และพัฒนาการถึงขีดสุดในวัยผู้ใหญ่ และเสื่อมลงเมื่อถึงวัยชราตามลำดับ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตามลำดับ และนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ร่างกาย
3.
 พัฒนาการของมนุษย์เป็นไปตามลำดับขั้น (Principle of Developmental Sequence)
พัฒนาการของสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายต่างก็มีแบบแผนเฉพาะของตน เมื่อพัฒนาการมีลักษณะต่อเนื่อง ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะข้ามขั้นได้ และเป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น เด็กจะเริ่มพัฒนาการจากหงาย คล่ำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน และวิ่ง เป็นต้น
4.
 พัฒนาการของมนุษย์ต้องอาศัยวุฒิภาวะและการเรียนรู้ (Principle of Maturation and Learning)
ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) ได้กล่าวว่า เราไม่มีทางแยกวุฒิภาวะกับการเรียนรู้ออกจากันได้โดยเด็ดขาด วุฒิภาวะนั้นเป็นความพยายามขั้นต้นของสิ่งมีชีวิตในการจัดระบบเพื่อเตรียมให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ต่าง ๆ อันยังประโยชน์ให้กับตนเอง ส่วนการเรียนรู้เป็นการเพิ่มความชำนาญให้กับประสบการณ์นั้น ๆ
5.
 พัฒนาการของมนุษย์แต่ละบุคคลมีอัตราแตกต่างกัน (Principle of Individual Growth Rate)
ด้วยวุฒิภาวะเป็นปัจจัยต่อการเกิดพัฒนาการของมนุษย์ดังนั้นช่วงชีวิตของแต่ละบุคคลนั้นจะมีความถึงพร้อมซึ่งวุฒิภาวะแตกต่างกัน เช่น ในเด็กหญิงจะถึงวุฒิภาวะของความเป็นสาวเร็วกว่าการถึงวุฒิภาวะความเป็นหนุ่มของเด็กชาย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พัฒนาการของบุคคลนั้นมีอัตราที่ไม่เท่าเทียมกัน จากหลักของพัฒนาการดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปลักษณะเด่นของพัฒนาการได้ ดังนี้
1.
 พัฒนาการเป็นไปตามแบบฉบับของตัวเอง
2.
 พัฒนาการไม่ว่าด้านใดก็ตามจะเริ่มจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ๆ
3.
 พัฒนาการทั้งหลายเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกันไป
4.
 อัตราพัฒนาการของบุคคลจะแตกต่างกันไป
5.
 คุณลักษณะต่าง ๆ ของพัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กัน
6.
 พัฒนาการเป็นสิ่งที่สามารถทำนายได้
7.
 พฤติกรรมที่มองแล้วว่าเป็นปัญหา แท้จริงอาจเป็นเพียงพฤติกรรมปกติตามลักษณะของพัฒนาการ
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)
1. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม
2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของบรุนเนอร์
3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของกาเย่ แม้กาเย่ จะมิใช่นักจิตวิทยากลุ่มพุทธินิยมโดยตรง แต่ผลงานของเขาส่วนใหญ่ได้เน้นให้เห็นถึงความเชื่อและแนวคิดของกลุ่มพุทธินิยม กาเย่ใช้โมเดลการเรียนรู้สะสมเป็นตัวอธิบายความเจริญทางสติปัญญาและพัฒนาการของความสามารถใหม่ ๆ ที่มีผลมาจากการเรียนรู้จากทัศนะของกาเย่ เด็กพัฒนาเนื่องจากว่า เขาได้เรียนรู้กฎเกณฑ์ที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ พฤติกรรมที่อาศัยกฎที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเพราะเด็กได้มีกฎง่าย ๆ ที่จำเป็นมาก่อน ในระยะเริ่มแรกเด็กจะได้รับนิสัยง่าย ๆ ที่ช่วยทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้น เพื่อให้ได้มาซึ่งกลไกพื้นฐาน และการตอบสนองทางคำพูด ต่อมาก็จะเป็นการจำแนกความคิดรวบยอดเป็นกฎง่าย ๆ และในที่สุดก็จะเป็นกฎที่ซับซ้อนการพัฒนาทางสติปัญญา จึงได้แก่การสร้างความสามารถในการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ระยะหรือขั้นของการพัฒนาการดูเหมือนว่าจะสัมพันธ์กับอายุของเด็ก เนื่องจากการเรียนรู้ต้องใช้เวลา มีข้อจำกัดทางสังคมเป็นตัวกำหนด หรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราความเร็วในการให้ความรู้และข่าวสารแก่เด็ก สำหรับกาเราแล้ว ความสามารถในการเรียนรู้อาจต้องรอการฝึกฝนที่เหมาะสม                                                                             
การเจริญเติบโตของร่างกาย
การเจริญเติบโตของมนุษย์
             
 พืชและสัตว์มีการเจริญเติบโต ตัวเราก็มีการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับต้นพืช เมื่อก่อนเราตัวเล็ก เดี๋ยวนี้เราตัวโตขึ้น ที่เราตัวโตขึ้น เพราะเราได้กินอาหารทุกวัน อาหารที่เหมาะสม และช่วยให้เด็กๆ อย่างพวกเราเจริญเติบโตได้ดีชนิดหนึ่ง คือ นม
             
 การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ จะช่วยให้ร่างกายของเราเจริญเติบโตและแข็งแรง สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าร่างกายของเรามีการเจริญเติบโต คือ การมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น ความสูงของร่างกายคนเรา จะเพิ่มขึ้นอย่างพอเหมาะกับน้ำหนักตัวเรา เด็กผู้หญิงจะมีส่วนสูงเต็มที่เมื่อมีอายุระหว่าง 14-15 ปี หลังจากนั้นก็จะสูงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ส่วยเด็กผู้ชายส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นที่เมื่ออายุระหว่าง 17-18 ปี หลังจากนั้นส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย
การเจริญเติบโตของร่างกายในวัยต่าง ๆ
            
 ร่างกายคนเรา มีการเจริญเติบโตจากวัยทารกสู่วัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละวัยขนาดของร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป
            การเจริญเติบโตทางร่างกายของคนเรา สังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้
 •
 น้ำหนัก
 ส่วนสูง
 ความยาวของลำตัว
 ความยาวของช่วงแขนเมื่อกางเต็มที่
 ความยาวของเส้นรอบวงศีรษะ
 ความยาวของเส้นรอบอก
 การขึ้นของฟันแท้
ลักษณะการเจริญเติบโต
           พัฒนาการประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน รูปแบบของการเติบโตแบ่งออกเป็น    4 แบบใหญ่ๆ คือ
          1.
 การเปลี่ยนแปลงทางขนาด เด็กจะค่อยๆ สูงขึ้น มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น รูปร่างขยายขึ้น อวัยวะภาย ใน เช่น หัวใจ ปอด ก็จะใหญ่ขึ้น

           2.
 การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วนและสติปัญญา สัดส่วนของเด็กจะต่างจากผู้ใหญ่ โดย เฉพาะในวัยทารกวัยผู้ใหญ่ ส่วนในด้านสติปัญญาก็จะเปลี่ยนไปตามวัย จากคำพูด ไปสู่การ เล่นของเล่น และในวัยรุ่นจะชอบเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว

          3.
 ลักษณะเดิมหายไป นั่นคือ การเติบโตทำให้อวัยวะหรือสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่แรกเกิดหายไป เช่น ฟันน้ำนม และขนอ่อนตอนที่เป็นเด็ก
         4.
 ลักษณะใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ เมื่อฟันน้ำนมและขนอ่อนหลุดไป ก็จะได้ฟันแท้มาแทนและอยู่กับ เราไปจนตลอดชีวิต ถ้าได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
เด็กวัยทารกหรือเด็กวัยแรกเกิด
               
เด็กวัยแรกเกิดจะมีอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสามปี จะมีการเจริญเติบโตโดยมีสัดส่วนของศีรษะต่อลำตัวเป็น 1 ต่อ 4
เด็กก่อนวัยเรียน

ในวัยนี้จะมีอายุอยู่ในช่วง 3-6 ปี รูปร่างและสัดส่วนของเด็กจะเปลี่ยนไปจากวัยแรกเกิด ดังนี้
            •
รูปร่างค่อยๆ ยืดตัวออกใบหน้าและศีรษะเล็กลงเมื่อเทียบกับลำตัว มือและเท้าใหญ่และแข็งแรง อกและไหล่ขยายกว้างขึ้น แต่หน้าท้องแฟบลง
เด็กวัยเรียน
              
 เด็กในวัยเรียนอายุระหว่าง 6-12 ปี จะมีการเจริญเติบโต ดังนี้
              • 
น้ำหนักโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อปี ส่วนสูงเพิ่มประมาณ 4-5 เซนติเมตรต่อปี ฟันน้ำนมจะเริ่มหักเมื่ออายุประมาณ 6 ปี และจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่
 เด็กวัยรุ่น 
องค์ประกอบที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ คือ 
          เด็กวัยรุ่นจะมีอายุอยู่ในช่วงอายุประมาณ 10 ปีขึ้นไป จนถึงอายุประมาณ 20 ปี ระยะวัยรุ่นจัดว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นวัยที่ร่างกายและจิตใจเริ่มเปลี่ยนจากวัยเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จึงจัดว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของชีวิต ซึ่งถ้าวัยรุ่นไม่ได้รับการแนะนำอย่างถูกต้อง อาจทำให้ประพฤติในสิ่งที่ผิดได้
         
 เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนี้
         -  
เพศชาย จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุประมาณ 15 ปี ร่างกายจะขยายใหญ่ขึ้นมีกล้ามเนื้อขึ้นเป็นมัด แขนขาขาวใหญ่ขึ้น มีหนวดเครา นมแตกพานเสียงห้าว มีขนขึ้น
         - 
 เพศหญิง จะมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมืออายุประมาณ 15 ปี หน้าอกจะขยายใหญ่ขึ้น เอวคอด สะโพกพาย ใบหน้าและผิวพรรณเปล่งปลั่งขึ้น มีสิวขึ้นที่ใบหน้าและมีประจำเดือน 

วัยผู้ใหญ่ (ตั้งแต่อายุ 21-40 ปี)
       พฤติกรรมวัยผู้ใหญ่
          -
 เริ่มแสวงหามิตรสนิทคู่ใจอย่างจริงจัง (ส่วนมากเพื่อสนิทได้มาจากการแต่งงาน)
          -
 คนส่วนมากแต่งงาน มีบทบาทเป็นสามี ภรรยา และพ่อ-แม่ ต้องปรับตัวต่อบทบาทเหล่านี้
          -
 พัฒนาการทางกายสมบูรณ์ถึงขีดสูงสุด และจะเริ่มลดความเข้มแข็งในตอนท้ายของวัย
          -
 การตัดสินใจเกี่ยวกับอาชีพ อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งจนกว่าจะลงตัว
          -
 รู้จักตนดีขึ้นกว่าวัยรุ่น
          -
 รู้จักคิดอย่างซับซ้อนขึ้น
วัยชรา (ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไปจนตาย)
     พฤติกรรมวัยชรา
          -
 สมรรถภาพทางกายเริ่มเสื่อมอย่างเห็นได้ชัดเจน
          -
 บางคนจะยังมีอนามัยดีและกระฉับกระเฉง ถ้ามีการเตรียมตัวมาด้วยดี
          -
 สติปัญญาและความจำอาจเริ่มเสื่อม แต่คนที่มีอนามัยดีและรู้จักพัฒนาสติปัญญา-ความจำ ทั้งสองสิ่งนี้จะยังคงดำรงอยู่หรือพัฒนาได้อีกต่อไป
          -
 การเคลื่อนไหวช้าลง
          -
 ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวกับการสุญเสียต่างๆ เช่น ความเสื่อมทางพละกำลัง การออกจากงาน ความเจ็บไข้น้อยลง
          -
 รู้จักใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์
          -
 รู้จักปรับตัวต่อการเกษียณอายุสำหรับคนทำงานในระบบเกษียณอายุ
          -
 ปรับตัวใหม่ต่อสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยา
          -
 ค้นหาความหมายของการดำรงชีวิต
          -
 เผชิญความตายของผู้ที่เป็นที่รัก
          -
 เตรียมตัวตายของตนเองอย่างสงบและมีสติ

สิ่งที่เป็นผลต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์
          1.
 พันธุกรรม (Heredity) คือ ลักษณะต่างๆ ทั้งทางกายและทางพฤติกรรมที่ถ่ายทอดจากบรรพ บุรุษสู่ลูกหลาน การถ่ายทอดนี้ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ ลักษณะต่างๆ จากพ่อและ แม่จะถ่ายทอดไปสู่ลูกโดยทางเซลล์สืบพันธุ์นี้ ซึ่งเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) สำหรับ มนุษย์จะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 ตัว มีอยู่คู่หนึ่งที่ทำหน้าที่กำหนดเพศหญิงหรือเพศชาย อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อมนุษย์ คือ เป็นตัวกำหนดเพศ รูปร่าง ชนิดของโลหิต สีผม ผิว ตา และระดับสติปัญญาเป็นต้น นักจิตวิทยาหลายคน เช่น แอนนาตาซี (Anastasi) ได้กล่าวว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยีน (Gene) ที่แตกต่างจะเป็นตัวกำหนดให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่แล้วพันธุกรรม จะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายมากที่สุด
          2.
 วุฒิภาวะ (Maturation) เป็นกระบวนการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นตามธรรม ชาติของบุคคล โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดหรือประสบการณ์ใด ๆ เช่น การยืน การเดิน การวิ่ง การเปล่งเสียง ซึ่งเป็นพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นไปตามปกติเมื่อถึงวัยที่สามารถจะ กระทำได้
          3.
 การเรียนรู้ (Learning) เป็นพัฒนาการที่เกิดจากประสบการณ์ และการฝึกหัด หรือความสามารถ
ทางทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกหัดเป็นพื้นฐาน
สำคัญ ดังนั้นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องความพร้อม (Readiness) ว่าเป็นสิ่งสนับสนุนในเรื่องการเรียนรู้เป็นอย่างมาก จากการศึกษาเรื่อง"ความพร้อม"
            
นักจิตวิทยาได้แบ่งแนวความคิดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
         
ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นว่า ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่ เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตาม ไม่ควรจะเป็น "การเร่ง" เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ตรงกันข้าม อาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น
        
ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นตรง ข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้นการ แนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ (Critical Period) ของการเรียนรู้และการปรับ ตัว เป็นอย่างมาก


        4. สิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่ สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น ๆ ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่างๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบ ครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น

บทที่1 บทนำ

บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ 
          การเจริญเติบโตของมนุษย์ เรื่องนี้ได้กลายเป็นปัญหาให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์บ้างบางส่วน จึงทำให้เกิดความวิตกและกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ จนทุกวันนี้ผู้คนทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตมากขึ้น ได้เริ่มมีการบริโภควิตามินเสริมมากขึ้น ซึ่งทำให้เป็นการสิ้นเปลืองในบางประการ เพราะบางทีก็อาจไม่จำเป็นหากเรากินอาหารให้ครบ 5 หมู่หรือออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน เป็นอย่างน้อย และอีกเหตุผลหนึ่งคือ ครอบครัวไม่ค่อยมีเวลาดูและลูกหลาน หรือเลี้ยงดูลูกหลานผิดวิธี ตามใจเด็กมากเกินไป ทำให้เด็กเสียนิสัย บริโภคอาหารขยะเป็นส่วนมาก ไม่มีเวลาทำอาหารรับประทานเอง เช่น ฟาสฟูด อาหารตามสั่ง อาหารจานด่วน ซึ่งมีแต่แป้งและน้ำตาล ไม่ค่อยมีผัก ไม่มีประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีความพยายามจากภาครัฐและเอกชนที่จะคิดหาหนทางในการรณรงค์เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบที่สมบูรณ์ มีการสนับสนุนให้เด็กๆได้บริโภคนมโรงเรียนทุกวัน ส่งเสริมให้เด็กบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นให้เด็กบริโภคผักเยอะๆ และแนะนำให้ครอบครัวมีเวลาว่างให้แก่เด็กๆมากขึ้น จึงได้กำหนดให้ทุกวันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กระทรวงสาธารณสุขพยายามคิดหาหนทางต่างๆ เพื่อพัฒนาการเจริญเติบโตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้นไป
     คณะผู้จัดทำเห็นว่าการเจริญเติบโตของมนุษย์เป็นปัญหาที่สำคัญจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อศึกษาหาสาเหตุ แนวทางการแก้ไข เพื่อเด็กๆจะได้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์

วัตถุประสงค์ 
     1.เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของมนุษย์
     2.เพื่อให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ว่าเป็นอย่างไร
     3.เพื่อรักษาสมดุลของมนุษย์ให้เป็นไปตามเกณฑ์

ขอบเขตการศึกษา
          ศึกษาเฉพาะเรื่องการเจริญเติบโตของมนุษย์ สาเหตุการเจริญเติบโตของมนุษย์ วิธีการเจริญเติบโตของมนุษย์ในแต่ล่ะช่วง โดยศึกษาตั้งแต่วันที่1 พ.ย. 2556- 1ธ.ค. 2556